วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 5

4. การ ตรวจสอบของกลาง ตรวจสอบต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นำส่ง แล้วบันทึกรายละเอียดต่างๆทั้งหมด ในใบตรวจรับของกลางยาเสพติด พร้อมทั้งลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
การเก็บรักษาของกลาง
อนึ่ง ยาเสพติดให้โทษของกลางที่ได้ตรวจพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 สถาน ตรวจพิสูจน์จะนำของกลางส่วนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ มาส่งมอบเพื่อเก็บรักษาที่กระทรวงสาธารณสุข (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจับ ยึด และตรวจพิสูจน์ยาเสพติดพ.ศ.๒๕๓๗ ) จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะเป็นผู้รับมอบและเก็บรักษาไว้ที่คลังยาเสพติดให้โทษของกลาง
การทำลายของกลางยาเสพติด
ของ กลางยาเสพติดที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เดิมต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดแล้วจึงนำไปเผาทำลายได้ แต่ปัจจุบันยาเสพติดที่เก็บในคลังแต่ละปีมีปริมาณมากขึ้น รัฐบาล จึงได้มีการปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการปฏิบัติ คือ ให้สามารถเผาทำลายยาเสพติดของกลางได้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีโดยไม่ ต้องรอคดีถึงที่สุด จึงจะทำให้เผายาเสพติดได้เร็วขึ้นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ดังนั้นต่อไปนี้ สำหรับคดียาเสพติดที่ผ่านการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรม และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษของกลางในคดี กระทรวงสาธารณสุขสามารถนำยาเสพติดดังกล่าวไปเผาทำลายต่อหน้าสาธารณชน มีสื่อมวลชนเป็น
สักขี พยานในการเผาทำลายและเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดให้เผา ในระบบเตาเผาขยะ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ซึ่งมีระบบควบคุมอากาศและการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
เนื่อง จากยาเสพติดทั้งหลาย เมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะ และความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิม
การสังเกตสมาชิกในครอบครัว
หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก
จาก หัวข้อที่ควรตรวจสอบสมาชิกในครอบครัวดังกล่าว ถ้าพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหลายหัวข้อ ก็พิจารณาได้ว่า สมาชิกในครอบครัวของท่านมีแนวโน้ม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไข ซึ่งยังไม่จำเป็นว่าต้องให้เห็นชัดเจนว่า ใช้ยาเสพติดแล้วจึงต้องแก้ไข เพราะปัญหาจากการใช้ยาเสพติดจะค่อยๆ ก่อตัวจากเล็กไปสู่ใหญ่ ถ้ารอให้ชัดว่ามีการใช้ยาเสพติด โดยผู้ใช้ยาเสพติดไม่สนใจคำแนะนำคำสั่งสอนอบรม ของคนในครอบครัวแล้ว นับว่าเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไขอย่างมาก
สำหรับการติดยาเสพติดบางชนิด ผู้เสพอาจมีลักษณะและความประพฤติที่อาจสังเกตเห็นได้ ดังนี้
การ เสพยาบ้า ผู้เสพอาจจะไม่เกิดอาการเสพติดในครั้งหรือสองครั้งแรกที่เสพ เหมือนเข่นการเสพเฮโรอีน แต่เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน และยังไปทำลายระบบประสาทอีกด้วย การสังเกตอาการของผุ้ติดยาสามารถสังเกตได้ดังนี้
นอก จากนั้นการเข้าใจธรรมชาติของผู้เสพติดหรือผู้ติดยา การมีความสันพันธ์ที่ดีมีความเอื้อเฟื้ออาทร ของผู้ที่ที่ป่วยเคารพรัก หรือคนที่รักเรา จะเป็นเหตุให้เขายอมเล่าความจริง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และควรนำความจริงและข้อผิดพลาดนั้น มาวิเคราะห์แล้วหาวิธีการช่วยเหลือ จะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) เพราะผู้ติดยามีโอกาสผิดพลาดอีก แม้จะเลิกได้เป็นเวลานานแล้วก็ตาม

2. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน
ผู้ ที่เสพยาเสพติด ประเภทนี้ จะมีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง (จึงสวมแว่นกันแดด) ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะมีอาการเฉยเมยต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ของตัวเอง หลายคนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือไม่อารมณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตตามร่างกายอาจพบร่องรอยบางอย่าง เข่น จมูกแดง มีผงติดตามจมูก( ถ้าสูดเฮโรอีนผง) มีรอยเข็มด้านในท้องแขน (ถ้าฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น) มักจะใส่เสื้อแขนยาว เพื่อปกปิดร่องรอยการฉีด ยาบริเวณแขน หรือหลังมือทั้งสองข้าง และ หลังจากใช้เฮโรอีนแล้ว จะมีอารมณ์ดียิ้มง่าย ครื้นเครง ปากหวาน ถ้าใช้มากอาจ
นั่ง สับปะหงก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การเสพ เช่น กล้องฝิ่น ก้อนฝิ่นดำ ผงสีขาวในถุงในแคปซูล ช้อนคีบ กระบอกและเข็มฉีดยา ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ตามที่ปกปิดมิดชิด
3. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาหลอนประสาท
ผู้ เสพติดมันจะนอนหรือนั่งสลึมสลืม บางรายมีอาการเปลี่ยวแปลงทางด้านสายตาการรับรู้และการสัมผัส ตาทำให้กลาเป็นคนขี้ตระหนกตกใจ หวาดกลัว นอกจากนี้ยังมีน้ำลายออกมาก ฝ่ามือมีเหงื่อออกอารมณ์ และนิสัยเปลี่ยนแปลงจากเดิมจนเห็นได้ชัด
4. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดกัญชา

ผู้ เสพติดมักมีความคิดเลื่อนลอย สับสน อ่อนไหวจาควบคุมตัวเองไม่ได้ บางครั้ง แสดงอาการแปลกๆเพราะการรับรู้ภาพผิดปกติ บางรายที่เสพมากๆอาจมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายตลอดเวลา กล้ามเนื้อลีบ มือเท้าเย็น และหายใจขัดบ่อยๆ ในส่วนที่ตัวอาจพบว่าผู้เสพซุกซ่อนบ้องกัญชา หรือซุกซ่อนบุหรี่ ที่มีมวนบุหรี่รูปทรงผิดแปลกจากปกติ เช่น มวนหนาขึ้น กระดาษมีสีน้ำตาลเกือบขาว กระดาษมวนยับ (ไม่เรียบ) ปลายมวนบุหรี่ทั้งสองข้างจะถูกพับไว้ ไส้ในมวลบุหรี่ จะมีสีเขียวกว่าปกติ เป็นต้น ในกรณี ที่เห็นผู้สูบบุหรี่ที่ยัดไส้กัญชา จะได้กลิ่นเหม็นเหมือนหญ้าหรือเชือกไหม้ไฟ
5. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดสาระเหย
ผู้ เสพติดจะมีกลิ่นสาระเหยทางลมหายใจ และตามเสื้อผ้า มักง่วงเหงาหาวนอน ขาดสติสัมปชัญญะ มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ เดินโซเซ น้ำมูกไหล มักมีแผลในปาก ในที่ส่วนตัว อาจพบภาชนะ หรือวัสดุใส่สารระเหยซุกซ่อนไว้ หากพบขณะ กังเสพอาจเห็นที่นิ้วมือมีผ้าสำลีซึ่งชุบสารระเหยพันอยู่และผู้เสพยกนิ้ว นั้นขึ้นสูดดมอยู่ตลอดเวลา หรืออาจพบว่า กำลังดมถุงพลาสติกที่ใส่สารระเหย

ลักษณะการติดยาเสพติด
ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ เพียงอย่างเดียว

การติดยาทางกาย
เป็น การติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเรียกว่า "อาการขาดยา" เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น

การติดยาทางใจ
เป็น การติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น


ลักษณะของอาการขาดยา
1.หาวนอนบ่อย จามคล้ายคนเป็นหวัด น้ำมูก น้ำตาไหล
2.กระสับกระสาย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจาระเป็นสีเลือด
3. เหงื่อออกมากผิดปกติ
4. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด มีอาการดิ้นทุรนทุราย
5.มีอาการสั่น หรือเป็นตะคริวตามมือแขนขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง มีอาการชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรงและถี่ผิดปกติ นอนไม่หลับ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้

การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
1. ทดสอบด้วยยา โดยการฉีดยาทำลายฤทธิ์ของยาเสพติด ทำให้เกิดอาการขาดยาในข้อ.3
2. การเก็บปัสสาวะ เพื่อหาสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งสามารถบอกชนิดของยาเสพติดบางชนิดได้


สาเหตุการติดยาเสพติด
1.สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้
จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจ
ประมาท ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือ ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน
แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และ
ให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
3. การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น
ยา กระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำ
ชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน
หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น
2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบัน นี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น