วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 6

สิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิด
สังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย

1. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่
เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ เป็น ประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่ง วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น

2. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด

3. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับ ประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

4.สาเหตุอื่นๆ

1. คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยาม
ก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อ ไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้

2. การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่หรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด

3. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
โทษพิษภัยของยาเสพติด
โทษ พิษภัยอันเกิดจากการใช้ยาเสพติด นอกจากจะมีผลกระทบโดยตรง ต่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพเองแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ดังนี้

1.โทษพิษภัยต่อตัวผู้เสพ
ฤทธิ์ ของยาเสพติด จะมีผลกระทบต่อระบบประสาทและระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายตลอดจนจิตใจของผู้เสพ เสมอ ดังนั้นจะพบว่าสุขภาพร่างกายของผู้เสพยาจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น มีรูปร่างผอม ซูบซีด ผิวคล้ำ ไม่มีแรง อ่อนเพลียง่าย สมองเสื่อม ความคิดความจำเสื่อม เป็นโรคติดเชื่ออื่นๆได้ง่าย เช่น โรคตับอักเสบ ไตอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด
ภูมิต้านทานในร่างกายจะลดลง มีสภาวะทางจิตใจไม่ปกติ สมรรถภาพจิตใจ
เสื่อม ลง อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวลง่าย ฟุ้งซ่าน ซึ่งจากผลร้ายดังกล่าว จะผลักดันให้ผู้เสพยาเสพติด กลายเป็นบุคคลที่ไร้สมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจในการดำเนินชีวิตในสังคมขาด ความเชื่อมั่น บุคลิกภาพสูญเสยมาสนใจตนเอง ไม่สนใจในการงานการเรียน และผู้เสพบางรายอาจประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นพิการอันเนื่องมาจากฤทธิ์ของยา เสพติดที่มีผลต่อระบบประสาทและสมอง

2. โทษพิษภัยต่อครอบครัว
การ ติดยาเสพติด ทำให้ผู้เสพกลายเป็นบุคคลที่ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่ห่วงใยดูแลครอบครัวอย่างที่เคยปฏิบัติทำให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น ต้องสูญเสียเศรษฐกิจและรายได้ของครอบครัว เนื่องจากนำเงินมาซื้อยาเสพติด
บาง รายอาจเกิดโรคร้ายต่างๆในการใช้ยาเสพติด กลายเป็นภาระของครอบครัวในที่สุด อีกทั้งนำไปสู่ปัญหาครอบครัวเกิดการทะเลาะวิวาทกันบ่อยๆ เกิดความแตกแยกภายในครอบครัว เป็นต้น

3.โทษพิษภัยต่อเศรษฐกิจและสังคม
ผู้ ที่ติดยาเสพติดนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยแล้วอาจมีความ คิดหรือพฤติกรรมที่นำไปสู่ปัญหาส่วนร่วมได้ เช่น ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
(ปล้น จี้ ทำ ร้ายร่างกายผู้อื่นเพื่อชิงทรัพย์สิน) ก่อให้เกิดปัญหาอุบติเหตุ และปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น อันเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคลากรอันล้ำค่า ตลอดจนทรัพย์สินของตนเอง และส่วนรวมอย่างไร้ประโยชน์ เป็นการถ่วงความเจริญ ความก้าวหน้า การพัฒนาของสังคม สภาวะดังกล่าวกลับกลายเป็นภาระของสังคมส่วนรวมในการจัดสรรบุคลากร แรงงานและเงินในการปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

4.โทษพิษภัยต่อประเทศชาติ
ผู้ ที่เสพยาเสพติดตกเป็นทาสของยาเสพติด อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่บ่อนทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงความสงบสุขของ ประเทศชาติ เนื่องจากผู้เสพเหล่านี้ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคนและงบประมาณแผ่นดิน จำนวนมหาศาล เพื่อใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ทำให้เศรษฐกิจทรุด บั่นทอนความมั่นคงของประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะถ้าผู้เสพติดเป็นเยาวชน
พิษของสารระเหย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. พิษ เฉียบพลัน ภายหลังการสูดดม จะเกิดอาการ ตื่นเต้น หัวใจเต้นเร็ว ต่อมามีอาการมึนงงคล้ายคนเมาสุรา ควบคุมตนเองไม่ได้ ระคายเคือง เยื่อบุในปากและจมูก น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หมดสติ อาจกดศูนย์การหายใจทำให้ตายได้ ทั้งนี้อาการมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิด และปริมาณ ของสารระเหยที่สูดดม
2. พิษ เรื้อรัง การสูดดมติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างการทุกระบบเสื่อมสมรรถภาพกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้อาการไอ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยไม่มีแรง เกิดเป็นอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสารนอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสาท สมองเสื่อม ประสาทหลอด ก้าวร้าว มุทะลุ พฤติกรรมและอุปนิสัยเปลี่ยน ทำลายสมองส่วนควบคุมการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด มือสั่น แขนขาสั่น เดินไม่ตรงทาง เป็นมาก มีอาการสั่นทั้งตัว นับว่าเป็นความพิการอันเกิดจากสารระเหย
การออกฤทธิ์
สาระเหย จะออกฤทธิ์ในการกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง อาการที่มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเสพสารระเหย คือ ในระยะแรกจะทำให้มีความรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ศรีษะเบา ตื่นเต้น ต่อมาจะมีอาการเหมือนคนเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ไม่ชัด ไม่รู้เวลาและสถานที่ ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในปากและจมูก ทำให้น้ำลายไหลออกมา ตามีความไวต่อแสงมากขึ้น มีเสียงในหู กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ในตอนแรกจะมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ ต่อมาจะมีฤทธิ์กด ทำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าเสพในขนาดสูงสารระเหยจะไปกดศูนย์หายใจทำให้ตายได้ สารระเหยบางชนิด เช่น กลุ่ม Ketone ทำให้หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าสูดดมในสภาวะตึงเครียดหรือเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย การสูดดมเป็นเวลาสั้นก็อาจถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบอาการจาม ไอ คลื่นไส้ ท้องเดิน สั่น และชักแบบลมบ้าหมู
อาการผู้เสพติดสารระเหย
ผู้ เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ศีรษะเบาหวิว ตื่นเต้น พูดจาอ้อแอ้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหลออกมามาก เนื่องจากสารที่สูดดมเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก การสูดดมลึก ๆ หรือ ซ้ำ ๆ กันแม้ในช่วง เวลาสั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ขาดสติหรือเป็นลมชัก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันระบบประสาทอัตโนมัติ ( Reflexes) ถูกกด มีเลือดออกทางจมูก หายใจไม่สะดวก
โทษของการเสพติดสารระเหย
สารระเหยออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ มีอาการขาดยาแต่ไม่รุนแรง

โทษต่อร่างกาย
1.ระบบทางเดินหายใจ มีอาการระคายเคืองหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
2.ระบบทางเดินอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื้อตับถูกทำลาย
3.ระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบจนถึงพิการ ปัสสาวะเป็นเลือดเป็นหนอง หรือมีลักษณะคล้ายไข่ขาว
4.ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ
5. ระบบสร้างโลหิต ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ด โลหิตหยุดทำงาน เกิดเม็ดโลหิตแดงต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ซีด เลือดออกได้ง่าย ตลอดจนทำให้เลือดแข็งตัวช้าในขณะที่เกิดบาดแผง บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
6. ระบบประสาท ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ลูกตาแกร่ง ลิ้นแข็ง พูดลำบาก สมองถูกทำลายจนเซลล์สมองฝ่อ เป็นโรคสมองเสื่อมก่อนอันควร

โทษทางกฎหมาย

สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533เป็น สารเคมีที่ระเหยได้งานที่ใช้ในการอุตสาหกรรม ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว เป็นต้น เด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ใช้สารระเหยในทางที่ผิด โดยน้ำมาสูดดม และเกิดภาวะ เสพติด เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลได้แก้ปัญหานี้ โดยออกกฎหมายที่พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่ง มีบทกำหนดโทษผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้สารระเหย เพื่อบำบัด ความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น