วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 4

ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมี
-อาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 -500,000บาทถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท ถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
5. อัตราโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5
กัญชา/ ฝิ่น/เห็ดขี้ควาย
-ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000 บาท
- ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย
- ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กก. จำคุก 2-10 ปี หรือปรับ 40,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป จำคุก 2 -15 ปี และปรับ 200,000- 1,500,000 บาท
- ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาทถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ300,000 -500,000บาท ถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาทถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
พืชกระท่อม
-ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กก. จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ10 กก.ขึ้นไป จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
-เสพจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
-ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ300,000 -500,000บาทถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท ถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 3 และ 4 เว้นแต่ได้ขออนุญาตแล้วตามกฎหมายซึ่งต้องมีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบควบคุม โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 เว้นแต่สั่งโดยแพทย์, ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ห้ามผู้ใดครอบครองหรือใช้ประโยชน์วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1-2 โดยมิได้รับอนุญาต โทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับ 20,000 - 100,000 บาท
-ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริมหรือใช้อุบายล่อลวงขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โทษจำคุก 2 - 10 ปี และปรับ40,000 - 100,000 บาท และถ้ากระทำต่อหญิงหรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือจูงใจเพื่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำผิดอาญา โทษจะเพิ่มขึ้นเป็นจำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 60,000 - 500,000 บาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 และ 2 นอกจากกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ขาย ได้โดยแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ เฉพาะผู้ป่วยของตน หรือกระทำโดยกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัช หรือสถานที่ที่ราชการกำหนด โทษจำคุก 5 - 20 ปี และปรับ 100,000 - 400,000 บาท
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย
-จัดหาหรือขายสารระเหยแก่ผู้ติดสารระเหย เสพสารระเหย ชักจูงหลอกลวง บังคับให้ผู้อื่นเสพสารระเหย จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
-ขายสารระเหยแก่ผู้มีอายุไม่เกิน 17 ปี (โดยไม่ใช่นำไปใช้เพื่อการศึกษา) จำคุกไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ถ้าผู้สูดดมอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลอาจเรียกตัวพร้อมผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน และปล่อยตัวไป แต่ถ้าเห็นว่าเป็นผู้ติดสารระเหยอาจส่งไปบำบัดรักษา ถ้าอายุเกิน 17 ปี และติดสารระเหยด้วย ศาลอาจส่งไปบำบัดรักษาเช่นกัน โดยชดเชยระยะเวลาบำบัดทดแทนค่าปรับหรือการจำคุก การบำบัดรักษาไม่ครบตามกำหนดโดยหลบหนีออกไปจากสถานบำบัด หากถูกจับได้ซ้ำจะได้รับโทษเพิ่มขึ้นรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปบทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่สำคัญ

เฮโลอีน
ครอบครอง - ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 1 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท หากเป็นสารบริสุทธิ์
ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อ
จำหน่าย
เสพ - ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท

กัญชา
ผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย - จำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปีและปรับตั้งแต่2 หมื่นบาทถึง 1 แสน 5 หมื่นบาท


ยาบ้า
ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต (กรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไปถือว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย)


ผลกระทบของยาบ้า
ทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะร่างกายพิการ เสียทรัพย์สินทั้งของตัวเอง ผู้อื่นและสังคมส่วนรวม อาจถูกจับและถูกดำเนินคดี ทางกฎหมาย ครอบครัวเดือดร้อน ก่อให้เกิดปัญหา อาชญากรรมต่าง ๆตามมาอีกมากมาย ก่อให้เกิดปัญหา อาชญากรรมต่าง ๆตามมาอีกมากมาย
การพิสูจน์ยาเสพติดเบื้องต้น
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์
1. การตรวจสอบทางกายภาพ เช่น สี ตราประทับ ขนาดของเม็ดยา น้ำหนัก การบรรจุ/หีบห่อ/ซอง และรายละเอียดอื่นๆ
2. การตรวจคุณภาพวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางต้องสงสัยเป็นยาเสพติดหรือไม่ ประเภทใด หรือชนิดใด
2.1 การตรวจพิสูจน์เบื้องต้น โดยใช้น้ำยาเคมี เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำยา
2.1.1.Marquis reagent
- ทดสอบกับยาบ้า น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ทดสอบกับยาอี น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเทาออกดำ
- ทดสอบกับเฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.1.2. Mecke reagent
- ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
2.1.3 Fordhe reagent
- ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.2. การตรวจเพื่อยืนยันผล
- ทิน เลเยอร์ โครมาโตกราฟฟี ( Thin Layer Chromatography,THC )
- เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )
3. การตรวจหาปริมาณวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางยาเสพติดนั้นมีปริมาณความบริสุทธิ์ของตัวยาเสพติดเท่าใด
- เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )
การตรวจรับของกลางยาเสพติด
1. พนักงาน สอบสวนเจ้าของคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นำของกลางมาส่งยังสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติด พร้อมแสดงบัตรประจำตัว เว้นแต่ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 หรือ 2 ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กรัม และฝิ่นน้อยกว่า 500 กรัม ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 น้อยกว่า 1 กิโลกรัม วัตถุออกฤทธิ์น้อยกว่า 5 กรัม หรือ น้อยกว่า 200 เม็ด สารระเหยน้อยกว่า 1 กิโลกรัม ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 พนักงาน สอบสวนเจ้าของคดีจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ส่งมอบ หรือจะส่งกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยในจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนได้
2. ของกลางที่นำมาส่ง ต้องบรรจุในภาชนะที่เรียบร้อย แข็งแรง ปิดผนึก ปิดทับด้วยแบบ ป.ป.ส.6-31
3. คณะกรรมการตรวจรับประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่จำเป็น ผู้ตรวจพิสูจน์หนึ่งคน อาจดำเนินการตรวจรับร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นที่เป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น