วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รูป อาจารย์ผู้ดูเเล และ คณะผู้จัดทำ

อาจารย์ผู้ดูเเล

อ.ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล






















วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 7

ต้องการหรือจิตใจ สารระเหย เมื่อสูดดมเข้าไปสู่ปอด จะถูกดูดซึมไปตามกระแสโลหิต สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างรวดเร็ว และทำลายระบบต่าง ๆ รวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น
การป้องกัน
เด็ก และเยาวชน สามารถป้องกันตนเองได้โดย หาความรู้เรื่องโทษพิษภัยของสารระเหย เพื่อป้องกันตนเอง และแนะนำผู้อื่นได้ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ ช่วยกิจกรรมในบ้าน และโรงเรียน เล่นดนตรี หรือ กีฬา ปลูกต้นไม้ ฯลฯ ประพฤติดี มีคุณธรรม เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง ครอบครัว และสังคม บิดามารดาผู้ปกครอง สำคัญ ในการป้องกันบุตรหลานโดย มีความรู้เรื่องโทษ พร้อมแนวทางการป้องกันอันตรายจากสารระเหย อบรมเลี้ยงดู บุตรหลาย ด้วยความรัก ความเข้าใจ ปลูกฝังให้ประพฤติดีมีคุณธรรม มีความเชื่อมันในตนเอง ไม่หลงตามเพื่อน เมื่อถูกชักชวนไปในทางที่ผิด ส่งเสริมให้บุตรหลานใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารระเหยไว้ในที่ปลอดภัย
ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้หรือทำงานเกี่ยวข้องกับสารระเหย
1.ควรใช้อย่างระวังและถูกต้องตามคำแนะนำที่ติดมากับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ
2. ป้องกันอย่าให้สารระเหยเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจ หรือทางผิวหนัง โดยสวมหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมเสื้อผ้าปกคลุมให้มิดชิด ขณะใช้สารระเหย
3.ขณะใช้สารระเหย ควรอยู่เหนือลม และในที่ ที่มีอากาศ ถ่ายเทสะดวก
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
1. ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่การมีไว้ในครอบครองในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่ รัฐมนตรีจะอนุญาต
2.ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
3.ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
4. ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 2 ได้เมื่อปรากฎว่าผู้ขออนุญาตเป็น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย หรือองค์การเภสัชกรรม
5.ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เว้นแต่ได้รับอนุญาต
6. ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ได้เมื่อปรากฏว่า ผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา และ มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ
7.ในการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออก
ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
การ บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติด ให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติ





แบ่งเป็น 3 ระบบ ดังนี้
ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.การปฏิบัติการจิตวิทยา และประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยมีแผนและสอดคล้องกับปฏิบัติการ
อื่นๆ โดยใช้กระบวนการประชาคมในการกระตุ้นและระดมพลัง
2.กำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน การดำเนินการสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่โดยผสมผสานการ
ดำเนินงาน การป้องกัน แก้ไข และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป
3. ป้องกันยาเสพติดในทุกระดับ โดยเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับครอบครัวสถานศึกษา ชุมชน อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง
4.ให้โอกาสรับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผู้ติดยาในระบบสมัครใจตามความต้องการและความเหมาะสมของผู้ติดยา
5. การปราบปรามยาเสพติดดำเนินการกับผู้ผลิตผู้ค้า ผู้นำเข้า-ส่งออกยาเสพติด และผู้มีอิทธิพลที่สนับสนุนการกระทำความผิดโดยเฉียบขาดการเร่งรัดการดำเนิน คดีและการพิพากษาลงโทษขั้นสูงสุดที่กำหนดไว้ตามกฎหมายตลอดจนการบังคับคดีให้ เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเคร่งครัด นอกจากนั้น ต้องจัดระบบการหาข่าวในเชิงรุก และมีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มี
พฤติกรรรม สนับสนุน คุ้มครอง ฯลฯ อย่างเฉียบขาด
6.ให้ความคุ้มครอง ขวัญกำลังใจแก่บุคคลเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
7.ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อลดปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณยาเสพติดในประเทศไทย
8.พัฒนาระบบบริหารจัดการทุกด้านเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างรวดเร็ว
และทันต่อเหตุการณ์


บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย
งบประมาณที่ใช้ในการทำงานวิจัย
รวม 385 บาท

การบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย
ได้อภิปรายกับสมาชิกในกลุ่ม ได้อ่านเอกสารต่างๆ และได้เขียนงานวิจัยโดยใช้หลักไวยากรณ์
ภาษาต่างประเทศ
ได้ทำบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์
ได้คำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละและแสดงเป็นกราฟ
วิทยาศาสตร์
ได้ทำงานเป็นกลุ่ม การหาเหตุผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยโทษของยาเสพติด
สุขศึกษาและพลศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับการป้องการติดยาเสพติด
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูล พิมพ์ จัดเก็บและนำเสนอข้อมูล
ศิลปะ
ได้ใช้ความรู้ด้านศิลปะในการจัดตกแต่งงานนำเสนอและรูปเล่ม




บทที่ 4
การวิเคราะห์ข้อมูล
การประเมินตนเอง
1.เนื้อหาของผลงาน
2.ความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหา
3.ความสวยงามของผลงาน
4.กลวิธีในการนำเสนอ
5. .ความรับผิดชอบ
6. .ความตรงต่อเวลา
7.ความรู้ที่ได้รับ
8.ความประทับใจต่อผลงาน
9.ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
การประเมินจากผู้ชมงาน
1.เนื้อหาของผลงาน
2.ความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหา
3.ความสวยงามของผลงาน
4.กลวิธีในการนำเสนอ
5. .ความรับผิดชอบ
6. .ความตรงต่อเวลา
7.ความรู้ที่ได้รับ
8.ความประทับใจต่อผลงาน
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ
งาน วิจัยเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบ ถึงดำเนินการประเมินโครงงานโดยอาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุลและ นักเรียนห้อง 6.11 จำนวน 29 คน สรุปผลได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัยโดยอาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล
1.เนื้อหาของผลงาน
2.ความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหา
3.ความสวยงามของผลงาน
4.กลวิธีในการนำเสนอ
5. .ความรับผิดชอบ
6. .ความตรงต่อเวลา
7.ความรู้ที่ได้รับ
8.ความประทับใจต่อผลงาน
9.ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
สรุปผลการวิจัยโดยนักเรียนห้อง 6.11 จำนวน 29 คน
1.เนื้อหาของผลงาน
2.ความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหา
3.ความสวยงามของผลงาน
4.กลวิธีในการนำเสนอ
5. .ความรับผิดชอบ
6. .ความตรงต่อเวลา
7.ความรู้ที่ได้รับ
8.ความประทับใจต่อผลงาน

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 6

สิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิด
สังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย

1. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่
เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ เป็น ประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่ง วิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น

2. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด

3. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับ ประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

4.สาเหตุอื่นๆ

1. คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยาม
ก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อ ไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้

2. การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่หรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด

3. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
โทษพิษภัยของยาเสพติด
โทษ พิษภัยอันเกิดจากการใช้ยาเสพติด นอกจากจะมีผลกระทบโดยตรง ต่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพเองแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ดังนี้

1.โทษพิษภัยต่อตัวผู้เสพ
ฤทธิ์ ของยาเสพติด จะมีผลกระทบต่อระบบประสาทและระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายตลอดจนจิตใจของผู้เสพ เสมอ ดังนั้นจะพบว่าสุขภาพร่างกายของผู้เสพยาจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น มีรูปร่างผอม ซูบซีด ผิวคล้ำ ไม่มีแรง อ่อนเพลียง่าย สมองเสื่อม ความคิดความจำเสื่อม เป็นโรคติดเชื่ออื่นๆได้ง่าย เช่น โรคตับอักเสบ ไตอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด
ภูมิต้านทานในร่างกายจะลดลง มีสภาวะทางจิตใจไม่ปกติ สมรรถภาพจิตใจ
เสื่อม ลง อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวลง่าย ฟุ้งซ่าน ซึ่งจากผลร้ายดังกล่าว จะผลักดันให้ผู้เสพยาเสพติด กลายเป็นบุคคลที่ไร้สมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจในการดำเนินชีวิตในสังคมขาด ความเชื่อมั่น บุคลิกภาพสูญเสยมาสนใจตนเอง ไม่สนใจในการงานการเรียน และผู้เสพบางรายอาจประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นพิการอันเนื่องมาจากฤทธิ์ของยา เสพติดที่มีผลต่อระบบประสาทและสมอง

2. โทษพิษภัยต่อครอบครัว
การ ติดยาเสพติด ทำให้ผู้เสพกลายเป็นบุคคลที่ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่ห่วงใยดูแลครอบครัวอย่างที่เคยปฏิบัติทำให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น ต้องสูญเสียเศรษฐกิจและรายได้ของครอบครัว เนื่องจากนำเงินมาซื้อยาเสพติด
บาง รายอาจเกิดโรคร้ายต่างๆในการใช้ยาเสพติด กลายเป็นภาระของครอบครัวในที่สุด อีกทั้งนำไปสู่ปัญหาครอบครัวเกิดการทะเลาะวิวาทกันบ่อยๆ เกิดความแตกแยกภายในครอบครัว เป็นต้น

3.โทษพิษภัยต่อเศรษฐกิจและสังคม
ผู้ ที่ติดยาเสพติดนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยแล้วอาจมีความ คิดหรือพฤติกรรมที่นำไปสู่ปัญหาส่วนร่วมได้ เช่น ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
(ปล้น จี้ ทำ ร้ายร่างกายผู้อื่นเพื่อชิงทรัพย์สิน) ก่อให้เกิดปัญหาอุบติเหตุ และปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น อันเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคลากรอันล้ำค่า ตลอดจนทรัพย์สินของตนเอง และส่วนรวมอย่างไร้ประโยชน์ เป็นการถ่วงความเจริญ ความก้าวหน้า การพัฒนาของสังคม สภาวะดังกล่าวกลับกลายเป็นภาระของสังคมส่วนรวมในการจัดสรรบุคลากร แรงงานและเงินในการปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

4.โทษพิษภัยต่อประเทศชาติ
ผู้ ที่เสพยาเสพติดตกเป็นทาสของยาเสพติด อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่บ่อนทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงความสงบสุขของ ประเทศชาติ เนื่องจากผู้เสพเหล่านี้ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคนและงบประมาณแผ่นดิน จำนวนมหาศาล เพื่อใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามยาเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ทำให้เศรษฐกิจทรุด บั่นทอนความมั่นคงของประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะถ้าผู้เสพติดเป็นเยาวชน
พิษของสารระเหย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. พิษ เฉียบพลัน ภายหลังการสูดดม จะเกิดอาการ ตื่นเต้น หัวใจเต้นเร็ว ต่อมามีอาการมึนงงคล้ายคนเมาสุรา ควบคุมตนเองไม่ได้ ระคายเคือง เยื่อบุในปากและจมูก น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หมดสติ อาจกดศูนย์การหายใจทำให้ตายได้ ทั้งนี้อาการมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิด และปริมาณ ของสารระเหยที่สูดดม
2. พิษ เรื้อรัง การสูดดมติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างการทุกระบบเสื่อมสมรรถภาพกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้อาการไอ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยไม่มีแรง เกิดเป็นอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสารนอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสาท สมองเสื่อม ประสาทหลอด ก้าวร้าว มุทะลุ พฤติกรรมและอุปนิสัยเปลี่ยน ทำลายสมองส่วนควบคุมการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด มือสั่น แขนขาสั่น เดินไม่ตรงทาง เป็นมาก มีอาการสั่นทั้งตัว นับว่าเป็นความพิการอันเกิดจากสารระเหย
การออกฤทธิ์
สาระเหย จะออกฤทธิ์ในการกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง อาการที่มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเสพสารระเหย คือ ในระยะแรกจะทำให้มีความรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ศรีษะเบา ตื่นเต้น ต่อมาจะมีอาการเหมือนคนเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ไม่ชัด ไม่รู้เวลาและสถานที่ ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในปากและจมูก ทำให้น้ำลายไหลออกมา ตามีความไวต่อแสงมากขึ้น มีเสียงในหู กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ในตอนแรกจะมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ ต่อมาจะมีฤทธิ์กด ทำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าเสพในขนาดสูงสารระเหยจะไปกดศูนย์หายใจทำให้ตายได้ สารระเหยบางชนิด เช่น กลุ่ม Ketone ทำให้หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าสูดดมในสภาวะตึงเครียดหรือเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย การสูดดมเป็นเวลาสั้นก็อาจถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบอาการจาม ไอ คลื่นไส้ ท้องเดิน สั่น และชักแบบลมบ้าหมู
อาการผู้เสพติดสารระเหย
ผู้ เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ศีรษะเบาหวิว ตื่นเต้น พูดจาอ้อแอ้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหลออกมามาก เนื่องจากสารที่สูดดมเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก การสูดดมลึก ๆ หรือ ซ้ำ ๆ กันแม้ในช่วง เวลาสั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ขาดสติหรือเป็นลมชัก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันระบบประสาทอัตโนมัติ ( Reflexes) ถูกกด มีเลือดออกทางจมูก หายใจไม่สะดวก
โทษของการเสพติดสารระเหย
สารระเหยออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ มีอาการขาดยาแต่ไม่รุนแรง

โทษต่อร่างกาย
1.ระบบทางเดินหายใจ มีอาการระคายเคืองหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
2.ระบบทางเดินอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื้อตับถูกทำลาย
3.ระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบจนถึงพิการ ปัสสาวะเป็นเลือดเป็นหนอง หรือมีลักษณะคล้ายไข่ขาว
4.ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ
5. ระบบสร้างโลหิต ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ด โลหิตหยุดทำงาน เกิดเม็ดโลหิตแดงต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ซีด เลือดออกได้ง่าย ตลอดจนทำให้เลือดแข็งตัวช้าในขณะที่เกิดบาดแผง บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
6. ระบบประสาท ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ลูกตาแกร่ง ลิ้นแข็ง พูดลำบาก สมองถูกทำลายจนเซลล์สมองฝ่อ เป็นโรคสมองเสื่อมก่อนอันควร

โทษทางกฎหมาย

สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533เป็น สารเคมีที่ระเหยได้งานที่ใช้ในการอุตสาหกรรม ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว เป็นต้น เด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ใช้สารระเหยในทางที่ผิด โดยน้ำมาสูดดม และเกิดภาวะ เสพติด เป็นอันตรายต่อสุขภาพรัฐบาลได้แก้ปัญหานี้ โดยออกกฎหมายที่พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่ง มีบทกำหนดโทษผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้สารระเหย เพื่อบำบัด ความ

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 5

4. การ ตรวจสอบของกลาง ตรวจสอบต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นำส่ง แล้วบันทึกรายละเอียดต่างๆทั้งหมด ในใบตรวจรับของกลางยาเสพติด พร้อมทั้งลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
การเก็บรักษาของกลาง
อนึ่ง ยาเสพติดให้โทษของกลางที่ได้ตรวจพิสูจน์แล้วว่า เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 สถาน ตรวจพิสูจน์จะนำของกลางส่วนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ มาส่งมอบเพื่อเก็บรักษาที่กระทรวงสาธารณสุข (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจับ ยึด และตรวจพิสูจน์ยาเสพติดพ.ศ.๒๕๓๗ ) จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะเป็นผู้รับมอบและเก็บรักษาไว้ที่คลังยาเสพติดให้โทษของกลาง
การทำลายของกลางยาเสพติด
ของ กลางยาเสพติดที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เดิมต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดแล้วจึงนำไปเผาทำลายได้ แต่ปัจจุบันยาเสพติดที่เก็บในคลังแต่ละปีมีปริมาณมากขึ้น รัฐบาล จึงได้มีการปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการปฏิบัติ คือ ให้สามารถเผาทำลายยาเสพติดของกลางได้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีโดยไม่ ต้องรอคดีถึงที่สุด จึงจะทำให้เผายาเสพติดได้เร็วขึ้นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ดังนั้นต่อไปนี้ สำหรับคดียาเสพติดที่ผ่านการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรม และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษของกลางในคดี กระทรวงสาธารณสุขสามารถนำยาเสพติดดังกล่าวไปเผาทำลายต่อหน้าสาธารณชน มีสื่อมวลชนเป็น
สักขี พยานในการเผาทำลายและเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดให้เผา ในระบบเตาเผาขยะ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ซึ่งมีระบบควบคุมอากาศและการกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
เนื่อง จากยาเสพติดทั้งหลาย เมื่อเกิดการเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะ และความประพฤติของผู้เสพยาเสพติดเปลี่ยนไปจากเดิม
การสังเกตสมาชิกในครอบครัว
หากสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก
จาก หัวข้อที่ควรตรวจสอบสมาชิกในครอบครัวดังกล่าว ถ้าพบว่ามีลักษณะสัมพันธ์กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหลายหัวข้อ ก็พิจารณาได้ว่า สมาชิกในครอบครัวของท่านมีแนวโน้ม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไข ซึ่งยังไม่จำเป็นว่าต้องให้เห็นชัดเจนว่า ใช้ยาเสพติดแล้วจึงต้องแก้ไข เพราะปัญหาจากการใช้ยาเสพติดจะค่อยๆ ก่อตัวจากเล็กไปสู่ใหญ่ ถ้ารอให้ชัดว่ามีการใช้ยาเสพติด โดยผู้ใช้ยาเสพติดไม่สนใจคำแนะนำคำสั่งสอนอบรม ของคนในครอบครัวแล้ว นับว่าเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไขอย่างมาก
สำหรับการติดยาเสพติดบางชนิด ผู้เสพอาจมีลักษณะและความประพฤติที่อาจสังเกตเห็นได้ ดังนี้
การ เสพยาบ้า ผู้เสพอาจจะไม่เกิดอาการเสพติดในครั้งหรือสองครั้งแรกที่เสพ เหมือนเข่นการเสพเฮโรอีน แต่เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน และยังไปทำลายระบบประสาทอีกด้วย การสังเกตอาการของผุ้ติดยาสามารถสังเกตได้ดังนี้
นอก จากนั้นการเข้าใจธรรมชาติของผู้เสพติดหรือผู้ติดยา การมีความสันพันธ์ที่ดีมีความเอื้อเฟื้ออาทร ของผู้ที่ที่ป่วยเคารพรัก หรือคนที่รักเรา จะเป็นเหตุให้เขายอมเล่าความจริง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำหนิอย่างรุนแรง และควรนำความจริงและข้อผิดพลาดนั้น มาวิเคราะห์แล้วหาวิธีการช่วยเหลือ จะเป็นการป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ (Relapese prevention) เพราะผู้ติดยามีโอกาสผิดพลาดอีก แม้จะเลิกได้เป็นเวลานานแล้วก็ตาม

2. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน
ผู้ ที่เสพยาเสพติด ประเภทนี้ จะมีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง (จึงสวมแว่นกันแดด) ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะมีอาการเฉยเมยต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ของตัวเอง หลายคนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือไม่อารมณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตตามร่างกายอาจพบร่องรอยบางอย่าง เข่น จมูกแดง มีผงติดตามจมูก( ถ้าสูดเฮโรอีนผง) มีรอยเข็มด้านในท้องแขน (ถ้าฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น) มักจะใส่เสื้อแขนยาว เพื่อปกปิดร่องรอยการฉีด ยาบริเวณแขน หรือหลังมือทั้งสองข้าง และ หลังจากใช้เฮโรอีนแล้ว จะมีอารมณ์ดียิ้มง่าย ครื้นเครง ปากหวาน ถ้าใช้มากอาจ
นั่ง สับปะหงก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์การเสพ เช่น กล้องฝิ่น ก้อนฝิ่นดำ ผงสีขาวในถุงในแคปซูล ช้อนคีบ กระบอกและเข็มฉีดยา ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ตามที่ปกปิดมิดชิด
3. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดยาหลอนประสาท
ผู้ เสพติดมันจะนอนหรือนั่งสลึมสลืม บางรายมีอาการเปลี่ยวแปลงทางด้านสายตาการรับรู้และการสัมผัส ตาทำให้กลาเป็นคนขี้ตระหนกตกใจ หวาดกลัว นอกจากนี้ยังมีน้ำลายออกมาก ฝ่ามือมีเหงื่อออกอารมณ์ และนิสัยเปลี่ยนแปลงจากเดิมจนเห็นได้ชัด
4. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดกัญชา

ผู้ เสพติดมักมีความคิดเลื่อนลอย สับสน อ่อนไหวจาควบคุมตัวเองไม่ได้ บางครั้ง แสดงอาการแปลกๆเพราะการรับรู้ภาพผิดปกติ บางรายที่เสพมากๆอาจมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายตลอดเวลา กล้ามเนื้อลีบ มือเท้าเย็น และหายใจขัดบ่อยๆ ในส่วนที่ตัวอาจพบว่าผู้เสพซุกซ่อนบ้องกัญชา หรือซุกซ่อนบุหรี่ ที่มีมวนบุหรี่รูปทรงผิดแปลกจากปกติ เช่น มวนหนาขึ้น กระดาษมีสีน้ำตาลเกือบขาว กระดาษมวนยับ (ไม่เรียบ) ปลายมวนบุหรี่ทั้งสองข้างจะถูกพับไว้ ไส้ในมวลบุหรี่ จะมีสีเขียวกว่าปกติ เป็นต้น ในกรณี ที่เห็นผู้สูบบุหรี่ที่ยัดไส้กัญชา จะได้กลิ่นเหม็นเหมือนหญ้าหรือเชือกไหม้ไฟ
5. การสังเกตอาการของผู้เสพหรือติดสาระเหย
ผู้ เสพติดจะมีกลิ่นสาระเหยทางลมหายใจ และตามเสื้อผ้า มักง่วงเหงาหาวนอน ขาดสติสัมปชัญญะ มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ เดินโซเซ น้ำมูกไหล มักมีแผลในปาก ในที่ส่วนตัว อาจพบภาชนะ หรือวัสดุใส่สารระเหยซุกซ่อนไว้ หากพบขณะ กังเสพอาจเห็นที่นิ้วมือมีผ้าสำลีซึ่งชุบสารระเหยพันอยู่และผู้เสพยกนิ้ว นั้นขึ้นสูดดมอยู่ตลอดเวลา หรืออาจพบว่า กำลังดมถุงพลาสติกที่ใส่สารระเหย

ลักษณะการติดยาเสพติด
ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ เพียงอย่างเดียว

การติดยาทางกาย
เป็น การติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเรียกว่า "อาการขาดยา" เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยาจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น

การติดยาทางใจ
เป็น การติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น


ลักษณะของอาการขาดยา
1.หาวนอนบ่อย จามคล้ายคนเป็นหวัด น้ำมูก น้ำตาไหล
2.กระสับกระสาย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจาระเป็นสีเลือด
3. เหงื่อออกมากผิดปกติ
4. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด มีอาการดิ้นทุรนทุราย
5.มีอาการสั่น หรือเป็นตะคริวตามมือแขนขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง มีอาการชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรงและถี่ผิดปกติ นอนไม่หลับ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้

การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
1. ทดสอบด้วยยา โดยการฉีดยาทำลายฤทธิ์ของยาเสพติด ทำให้เกิดอาการขาดยาในข้อ.3
2. การเก็บปัสสาวะ เพื่อหาสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งสามารถบอกชนิดของยาเสพติดบางชนิดได้


สาเหตุการติดยาเสพติด
1.สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้
จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจ
ประมาท ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือ ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน
แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และ
ให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
3. การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น
ยา กระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำ
ชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน
หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น
2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบัน นี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติด

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 4

ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมี
-อาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 -500,000บาทถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท ถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
5. อัตราโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5
กัญชา/ ฝิ่น/เห็ดขี้ควาย
-ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000 บาท
- ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย
- ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กก. จำคุก 2-10 ปี หรือปรับ 40,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป จำคุก 2 -15 ปี และปรับ 200,000- 1,500,000 บาท
- ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาทถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ300,000 -500,000บาท ถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาทถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
พืชกระท่อม
-ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กก. จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ10 กก.ขึ้นไป จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
-เสพจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
-ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ300,000 -500,000บาทถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท ถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 3 และ 4 เว้นแต่ได้ขออนุญาตแล้วตามกฎหมายซึ่งต้องมีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบควบคุม โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 เว้นแต่สั่งโดยแพทย์, ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ห้ามผู้ใดครอบครองหรือใช้ประโยชน์วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1-2 โดยมิได้รับอนุญาต โทษจำคุก 1 - 5 ปี และปรับ 20,000 - 100,000 บาท
-ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริมหรือใช้อุบายล่อลวงขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โทษจำคุก 2 - 10 ปี และปรับ40,000 - 100,000 บาท และถ้ากระทำต่อหญิงหรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือจูงใจเพื่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำผิดอาญา โทษจะเพิ่มขึ้นเป็นจำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 60,000 - 500,000 บาท
-ผู้ใดห้ามผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 และ 2 นอกจากกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ขาย ได้โดยแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ เฉพาะผู้ป่วยของตน หรือกระทำโดยกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัช หรือสถานที่ที่ราชการกำหนด โทษจำคุก 5 - 20 ปี และปรับ 100,000 - 400,000 บาท
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย
-จัดหาหรือขายสารระเหยแก่ผู้ติดสารระเหย เสพสารระเหย ชักจูงหลอกลวง บังคับให้ผู้อื่นเสพสารระเหย จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
-ขายสารระเหยแก่ผู้มีอายุไม่เกิน 17 ปี (โดยไม่ใช่นำไปใช้เพื่อการศึกษา) จำคุกไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ถ้าผู้สูดดมอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลอาจเรียกตัวพร้อมผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน และปล่อยตัวไป แต่ถ้าเห็นว่าเป็นผู้ติดสารระเหยอาจส่งไปบำบัดรักษา ถ้าอายุเกิน 17 ปี และติดสารระเหยด้วย ศาลอาจส่งไปบำบัดรักษาเช่นกัน โดยชดเชยระยะเวลาบำบัดทดแทนค่าปรับหรือการจำคุก การบำบัดรักษาไม่ครบตามกำหนดโดยหลบหนีออกไปจากสถานบำบัด หากถูกจับได้ซ้ำจะได้รับโทษเพิ่มขึ้นรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปบทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่สำคัญ

เฮโลอีน
ครอบครอง - ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 1 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท หากเป็นสารบริสุทธิ์
ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อ
จำหน่าย
เสพ - ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท

กัญชา
ผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย - จำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปีและปรับตั้งแต่2 หมื่นบาทถึง 1 แสน 5 หมื่นบาท


ยาบ้า
ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต (กรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไปถือว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย)


ผลกระทบของยาบ้า
ทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะร่างกายพิการ เสียทรัพย์สินทั้งของตัวเอง ผู้อื่นและสังคมส่วนรวม อาจถูกจับและถูกดำเนินคดี ทางกฎหมาย ครอบครัวเดือดร้อน ก่อให้เกิดปัญหา อาชญากรรมต่าง ๆตามมาอีกมากมาย ก่อให้เกิดปัญหา อาชญากรรมต่าง ๆตามมาอีกมากมาย
การพิสูจน์ยาเสพติดเบื้องต้น
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์
1. การตรวจสอบทางกายภาพ เช่น สี ตราประทับ ขนาดของเม็ดยา น้ำหนัก การบรรจุ/หีบห่อ/ซอง และรายละเอียดอื่นๆ
2. การตรวจคุณภาพวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางต้องสงสัยเป็นยาเสพติดหรือไม่ ประเภทใด หรือชนิดใด
2.1 การตรวจพิสูจน์เบื้องต้น โดยใช้น้ำยาเคมี เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำยา
2.1.1.Marquis reagent
- ทดสอบกับยาบ้า น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ทดสอบกับยาอี น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเทาออกดำ
- ทดสอบกับเฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.1.2. Mecke reagent
- ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว
2.1.3 Fordhe reagent
- ทดสอบกับเฮโรอีน น้ำยาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2.2. การตรวจเพื่อยืนยันผล
- ทิน เลเยอร์ โครมาโตกราฟฟี ( Thin Layer Chromatography,THC )
- เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )
3. การตรวจหาปริมาณวิเคราะห์ เป็นการตรวจพิสูจน์ให้รู้ว่าของกลางยาเสพติดนั้นมีปริมาณความบริสุทธิ์ของตัวยาเสพติดเท่าใด
- เครื่องมือแก๊สโครมาโตกราฟ ( Gas Chromatograph,GC )
การตรวจรับของกลางยาเสพติด
1. พนักงาน สอบสวนเจ้าของคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป นำของกลางมาส่งยังสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติด พร้อมแสดงบัตรประจำตัว เว้นแต่ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 หรือ 2 ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กรัม และฝิ่นน้อยกว่า 500 กรัม ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 น้อยกว่า 1 กิโลกรัม วัตถุออกฤทธิ์น้อยกว่า 5 กรัม หรือ น้อยกว่า 200 เม็ด สารระเหยน้อยกว่า 1 กิโลกรัม ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 พนักงาน สอบสวนเจ้าของคดีจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ส่งมอบ หรือจะส่งกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยในจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนได้
2. ของกลางที่นำมาส่ง ต้องบรรจุในภาชนะที่เรียบร้อย แข็งแรง ปิดผนึก ปิดทับด้วยแบบ ป.ป.ส.6-31
3. คณะกรรมการตรวจรับประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่จำเป็น ผู้ตรวจพิสูจน์หนึ่งคน อาจดำเนินการตรวจรับร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นที่เป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 3

เอ็คซ์ตาซี เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ 3,4 Methylenedioxymethamphetamine , MDMA (เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน)ในประเทศไทยกำหนดให้สารนี้ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 มักจะพบในลักษณะที่เป็นแคปซูลทั้งขนาดเล็กและใหญ่สีต่าง ๆหรือเป็นเม็ดกลมแบน สีขาว สีน้ำตาล สีชมพู ในบางประเทศรู้จักกันในนามยา “E” หรือ “ADAM” เอ็คซ์ตาวี มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับยาบ้าแต่รุนแรงมากกว่าจะออกฤทธิ์หลังจากเสพเข้าไปแล้วประมาณ 30-45 นาที และจะมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ยาเอ็คซ์ตาซีจะออกฤทธิ์อย่างเงียบ ๆ โดยมีผลทำให้สำเหนียกของการได้ยินเสียงและการมองเห็นสีสูงเกินปกติ การออกฤทธิ์ในระยะสั้น ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกปากแห้ง ไม่มีอาการหิว หัวใจเต้นเร็ว และความดันสูง มีอาการคลื่นเหียน บางครั้งก็มีอาการเกร็งที่แขนขา และขากรรไกร ผู้เสพอาจจะรู้สึกสัมผัสสิ่งต่าง ๆรุนแรงขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย มึนและสงบ หลังจากนั้นผู้เสพอาจรู้สึกเหนื่อย และกดดันยังไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า เอ็คซ์ตาซีเป็นยาโป๊วที่ช่วยในเรื่องเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด
อาการของยาเสพติดประเภทหลอนประสาท
ยาเสพติดพวกนี้ทำให้เกิดประสาทหลอนได้อย่างมาก โดยทำลายประสาทสมองให้การรับรู้รับสัมผัสอย่างผิดแผกไปจากความจริงทั้งหมดเกิดอันตรายต่อร่างกายเช่น เพ้อคลั่ง ทุรนทุรายหรือเกิดอุบัติเหตุแก่ชีวิตได้ง่าย เพราะการหลงผิด และตัดสินใจผิดจากที่ควรจะเป็น

4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ( อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาท ร่วมกัน ) ได้แก่ กัญชา
แบ่งตามแหล่งที่มา
1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา เป็นต้น
2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี เป็นต้น
3. แบ่งตามกฎหมาย
ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ยาอี หรือ ยาเลิฟ
ประเภท ที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน ฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หมายถึง ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก หรือมูลฝิ่น
ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้ เป็น ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

ประเภท ที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
วิธีการเสพยาเสพติด
กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
1. สอดใต้หนังตา
2. สูบ
3. ดม
4. รับประทานเข้าไป
5. อมไว้ใต้ลิ้น
6. ฉีดเข้าเหงือก
7. ฉีดเข้าเส้นเลือด
8. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
9. เหน็บทางทวารหนัก
ลักษณะของยาเสพติดให้โทษที่พบบ่อย
ยา เสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ
1. ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว แอลคะลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine) ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า
แอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ
2. เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
1) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
2) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
3. กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
4. กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา
ยาเสพติดกำเนิดใหม่ หมายถึง สาร เสพติดที่ยังไม่เคยถูกนำออกมาเผยแพร่ในสังคมมาก่อนหน้านี้ ยังไม่เคยมีการใช้และการแพร่ระบาด และยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องสถานะทางกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม
สาเหตุของการกำเนิด คือ
1. นำเสนอสินค้าใหม่เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด
2. เพื่อทดลองวิชาความรู้ทางด้านการดีไซน์ยาเสพติด
3. เพื่อนำหน้าการควบคุมทางกฎหมาย/หลีกเลี่ยงกฎหมาย
4. เพื่อเศรษฐกิจของผู้ค้า
ตัวยา ได้แก่
1. mCPP เม็ดกลม สีเขียว มีฤทธิ์เหมือนยากลุ่มเอ็กซ์ตาซี
2. DMA เป็นก้อนสีขาวใสเล็กๆ มีฤทธิ์เหมือนยาบ้า เข้าสู่ร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนเป็นยาบ้าที่ตับ
3. Synthetic Heroin Pills (Subutex) เม็ดยาวรี มีร่องแบ่งครึ่งเม็ด มีฤทธิ์เหมือนเฮโรอีน
4. Synthetic Heroin Pills (3-methylfentanyl) ผงละเอียดสีน้ำตาลอ่อน สูดเข้าโพรงจมูกแล้วได้ฤทธิ์เหมือนเฮโรอีน
5. New Heroin หรือ MPTP ผงละเอียดสีขาว สูดเข้าโพรงจมูกแล้วได้ฤทธิ์เหมือนเฮโรอีน และทำให้เกิด parkinsonian syndrome
6. Crack หรือ ROCK ผงสีขาว สูดควันแล้วได้ฤทธิ์กระตุ้นประสาท
7. วันทูคอล/4x100/8x100/10x100 ยาน้ำสีต่างๆ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาไม่ชัดเจน
8. เด็กซ์โตร ยาเม็ดแก้ไอ ทำให้เกิดอาการเมาและประสาทหลอน
9. ไฟแช็กแก๊ส ไฟแช็กแก๊สสำเร็จรูปแบบใช้หมดแล้วทิ้ง ทำให้เกิดอาการมึนเมาจากฤทธิ์กดประสาท
10. Bufo paper/Cane toads skin กระดาษซับ/หนังกบตากแห้ง ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เกิด Serotonin Syndrome
อัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 5 พ.ศ.2545
1. อัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 1
-ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3 กรัม ขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย โทษประหารชีวิต ผลิตโดยแบ่งบรรจุ รวมบรรจุ คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 3กรัม จำคุก 4-15 ปี หรือปรับ 80,000-300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผลิตเพื่อจำหน่าย คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 3 กรัม จำคุก 4 ปีถึงตลอดชีวิต แ
-ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 3 กรัม จำคุก 4-15 ปี หรือปรับ 80,000-300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 กรัม- 20 กรัม จำคุก 4 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 400,000-5,000,000 บาท คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ละปรับ 400,000-5,000,000 บาท
-ผู้ใดมีไว้ครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 3 กรัม จำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดมีไว้เสพจำคุก 6 เดือน - 3 ปีหรือปรับ 10,000-60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุก 1-5 ปี หรือปรับ 20,000- 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท
- ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 -500,000บาท ถ้าเป็นมอร์ฟีน โคเคน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาทถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
2. อัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน หรือโคคาอีน
-ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำคุก 1-10 ปีและปรับ 100,000 -1,000,000 บาท ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น โคคาอีน จำคุก 20 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 2,000,000-5,000,000 บาท
-ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 20,000 –200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น โคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 3-20 ปี หรือปรับ 60,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 500,000-5,000,000 บาท
-ผู้ใดมีไว้ครอบครองจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 100 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย
-ผู้ใดเสพ จำคุก 6 เดือน - 3 ปี หรือปรับ 10,000-60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุก 1-5 ปี หรือปรับ 20,000- 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาท ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 -500,000บาทถ้าเป็นมอร์ฟีน โคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาทถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต



3. อัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3
- ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าจำคุก 1-3 ปี และปรับ 100,000- 300,000บาท
-ผู้ใดจำหน่ายหรือส่งออกจำนวนไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับจำนวนเกินกฎกระทรวงกำหนด จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
-ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพจำคุก 1-10 ปี และปรับ 100,000-1,000,000 บาท
-ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 200,000-1,500,000บาทถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 -500,000บาทถ้าเป็มอร์ฟโคคาอีน เพิ่มโทษขึ้นกึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000-5,000,000 บาทถ้าเป็นเฮโรอีน โทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
4. อัตราโทษของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4
-ผู้ใดครอบครองจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย
-ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับ 20,000-200,000 บาท10 กก.ขึ้นไป จำคุก 1 -15 ปี และปรับ 100,000

กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 2











ประเภทของยาเสพติด

ปัจจุบันยาเสพติดมีมากมายหลายร้อยประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

1.แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

1.ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย





2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน มัก พบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น

3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต


ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท



กฏหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ 1

โครงงานวิจัยแบบบูรณาการ

เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

คณะผู้วิจัย

น.ส. ภักดิพร พักโพธิ์เย็น เลขที่ 28

น.ส. ภัทรพร น่วมเจริญ เลขที่ 30

น.ส. รวิพร วงศ์โกมลเชษฐ์ เลขที่ 33

น.ส. สิรินพร สุวรรณศร เลขที่ 43

น.ส. อชิรญา เมืองเจริญ เลขที่ 45


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.11

เสนอต่อ

อาจารย์ ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสังคมศึกษา

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552

โรงเรียนสตรีวิทยา

บทคัดย่อ

มนุษย์เมื่อได้มาอยู่ร่วมกันก็เกิดเป็น สังคม เมื่อ เกิดเป็นสังคมดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม ทำให้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือข้อบังคับ ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุข ทำให้เกิดความเป็นธรรม และกำหนดถึงสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของสมาชิกในสังคม

ในรายงานงานเล่มนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

ซึ่ง ในปัจจุบันนั้นยาเสพติดให้โทษได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมส่วนหนึ่งที่แก้ไข ได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ดังนั้นประชาชนควรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของยาเสพติดและกฎหมายเกี่ยวกับ ยาเสพติด โดยที่กำหนดไว้ขั้นสูงสุดคือโทษประหารชีวิตซึ่งอาจช่วยให้เข้าใจและลดการกระทำความผิดได้บ้างพอสมควร

หวัง ว่ารายงานเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้ที่ศึกษาเข้าใจและได้รับความรู้ เพิ่มมากขึ้นและถ้าหากรายงานเล่มนี้ทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ



แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย

1.กฎหมายกับยาเสพติดให้โทษ

2. การใช้ภาษาไทยในการทำบทคัดย่อ ในด้านการสื่อสาร สำรวจ สอบถาม หาข้อมูลในการค้นหางาน ได้อ่านเอกสารต่างๆในการค้นหา คิดวิเคราะห์วางแผนงานต่าง และได้เขียนงานและพิมพ์งานวิจัย ในบทต่างๆโดยใช้หลักไวยากรณ์ไทย และนำเสนองาน

3.ได้ทำบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ

4.การสำรวจหาสถิติข้อมูล คำนวณวิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละ และแสดงเป็นกราฟ

5.ได้ทำงานเป็นกลุ่ม การหาเหตุผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

6.ได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยโทษของยาเสพติด

7.ศึกษาเกี่ยวกับการป้องการติดยาเสพติด

8.ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูล พิมพ์ จัดเก็บและนำเสนอข้อมูล

9.ได้ใช้ความรู้ด้านศิลปะในการจัดตกแต่งงานนำเสนอและรูปเล่ม

ความหมายของยาเสพติด

ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษหมายความว่าสารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา สุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรมกับให้รวมตลอดถึง พืช หรือส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ตามรัฐมนตรีประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติด ให้โทษผสมอยู่



ความหมายกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หมาย ความว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหยกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและ ประสาท

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด